วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2550

Beurre


Le beurre est un aliment composé de gouttelettes d'eau dans la matière grasse d'origine laitière. Sous les climats tempérés, c’est un solide mou de couleur jaunâtre. Il fond progressivement à la chaleur.
Utilisation
Froid, le beurre se marie bien avec le pain, d’où son utilisation en tartines. Le beurre fondant à une température proche de 30°C alors que la température du corps humain est de 37°C, on peut donc dire qu’il « fond dans la bouche ».
Une noix de beurre (comme toute matière grasse) laissée à fondre sur un mets chaud permet d’en rehausser le goût.
Le beurre sert également de matière grasse pour la cuisson des aliments à la poêle. La cuisson « au beurre » est traditionnellement répandue dans la partie nord de la France, par opposition à la partie sud de la France qui cuisine « à l’huile »
Mais le beurre cuit est moins digeste que le beurre cru. La température critique du beurre est de 130°C. Au-delà de 130°C, il se forme des composés toxiques et le beurre fume. Le beurre n’est donc pas, à moins de le clarifier, la matière grasse la plus adaptée pour la cuisson.

วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2550

เคล็ดลับดูแลผมสำหรับคนผมยาว

หากถามผู้ชายร้อยทั้งร้อย ต้องบอกว่าชอบผู้หญิงผมยาว แต่การจะไว้ผมยาวให้ดูดีได้นั้น เส้นผมต้องนุ่มสวย มีเงางาม ซึ่งอาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากจนเกินความสามารถหรอกน่าเรามีคำแนะนำในการจัดการกับปัญหาของเส้นผม ที่มักจะทำให้ผมของคุณเสียสวยมาบอกกันค่ะ

เมื่อปลายผมแห้ง หักง่ายเมื่อคุณไว้ผมยาวนาน ๆ ปัญหาหนึ่งที่พบกันบ่อย คือปลายผมจะเริ่มแห้ง ขาดน้ำหนัก และหักง่าย ถ้าเจอปัญหานี้ ให้ใช้วิธีเล็มปลายผมทิ้ง ทุก 4-6 สัปดาห์ นอกจากนี้ลองสำรวจดูว่าปลอกหมอนที่คุณใช้ มีเนื้อผ้าหยาบ ๆหรือเปล่าเพราะอาจเป็นสาเหต ุหนึ่งที่ทำให้ผมหักได้ง่าย ลองเปลี่ยนมาใช้ปลอกหมอนที่ทำด้วยเนื้อผ้าลื่น จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ค่ะ

ผมขาดน้ำหนักดูเบาฟูมักมีสาเหตุมาจาก การใช้ผลิตภัณท์แต่งผม เช่น เจล มูส หรือสเปรย์ประเภทที่มีแอลกฮอล์ผสมอยู่ นอกจากนี้รังสียูวีในแสงแดด ก็เป็นตัวการสำคัญที่ทำลายโปรตีนในเส้นผม ทำให้เส้นผมดูหยาบ รวมถึงควันบุหรี่ ที่จับเกาะบนเส้นผม ก็อาจทำให้เส้นผมขาดความมันเงาได้ วิธีแก้ ก็คือ หลีกเลี่ยงการตากแดดจัด ๆ เลือกใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของสารป้องกันยูวี และหลีกเลี่ยงสถานที่ที่อบอวลด้วยควันบุหรี่

เส้นผมขาดมักเกิดจากการมัดรวบจนแน่นตึง การใช้หนังสติ๊กมารัดผม รวมทั้งการหวีผมแรง ๆ อาจทำให้เส้นผมขาดได้ง่าย วิธีแก้ ให้รวบผมหลวมๆ หรือปล่อยผมสยายออก และไม่ควรใช้หนังสติ๊กซึ่งใช้มัดของ มารวบผม ควรใช้ยางรัดที่ออกแบบมาเพื่อรัดผมโดยเฉพาะจะดีกว่า

ผมแตกปลายปัญหาผมแตกปลาย มีวิธีแก้ทางเดียวคือเล็มปลายผมทิ้ง

ผมลีบแบน คนที่เส้นผมเล็ก เมื่อไว้ผมยาว อาจทำให้ดูลีบแบนได้ วิธีทำให้ดูผมพองตัว หลังจากสระผมแล้ว ให้ใช้สเปรย์ที่ช่วยเพิ่ม ความหนาให้กับเส้นผม แล้วเป่าให้แห้ง โดยก้มศีรษะลง ใช้แปรงกลมขนาดใหญ่ แปรงผม เพื่อให้ผมดูพองตัว จากนั้นแบ่งผมเป็นช่อ ๆ พันเส้นผมด้วยโรลม้วนผมขนาดใหญ่ ปล่อยทิ้งไว้สัก 10 นาที จะทำให้เส้นผมดูพองสวยขึ้นค่ะ

เคล็ดลับในการปราปผมชี้ตั้งให้ใช้โลชั่นหรือครีมแต่งผม ทาที่ฝ่ามือเล็กน้อยแล้วสางผมเส้นผมให้ทั่ว และลองเปลี่ยนมาใช้ แปรงผมที่ขนแปรงทำจากธรรมชาติแทนพลาสติคนอกจากนี้ควรเลี่ยงการไดร์ผมบ่อย ซึ่งมักจะทำให้เส้นผมแห้ง เกิดไฟฟ้าสถิตย์ได้ง่าย

วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2550

Fromage

Un fromage est un aliment moulé, obtenu à partir de la coagulation du lait suivie ou non de fermentation. C’est un aliment riche en calcium. On fabrique du fromage à partir de lait de vache principalement, mais aussi de brebis, de chèvre, de bufflonne.

moulé [a.] ที่(หล่อ,หลอม)แล้ว ,รูปร่างกะทัดรัด,ที่มีทรวดทรงงาม [n.m]รูปที่พิมพ์ด้วยแม่พิมพ์

Fabrication [n.f.]การผลิต
La coagulation ou caillage du lait est obtenue par utilisation de présure et de chlorure de calcium, ou par acidification spontanée. Ce processus est suivi d’un salage, puis éventuellement d’une période de fermentation.
On peut aussi coaguler le lait avec du jus de citron, ou même avec du vinaigre...
Le processus complet de fabrication des fromages se déroule en six étapes principales :
1.caillage,
2.rompage(facultatif),
3.égouttage,
4.moulage,
5.salage,
6.affinage.
Plusieurs facteurs influencent le goût et la saveur du fromage : saison, climat, micro-organismes précis, qualité des sols et des pâturages, espèce des animaux laitiers (vaches, chèvres et brebis), techniques de fabrication, savoir-faire d’affinage.
La première usine de fabrication de fromage fut ouverte en Suisse le 3 février 1815.
Traditionnellement, la France produit entre 350 et 400 fromages différents, soit selon le proverbe, « un fromage par jour de l’année »[2]. Mais actuellement, elle fabrique plus de 1000 fromages différents [3]. La Grande-Bretagne produit plus de 700 variétés de fromage[4].
Un fromage fermier se dit d’un fromage fabriqué à la ferme par l’exploitant agricole uniquement avec le lait de son propre troupeau. Le fromage laitier se dit d’un fromage fabriqué en laiterie avec le lait de plusieurs exploitations.
En France, 42 fromages sont protégés par une appellation d’origine contrôlée (AOC).

วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2550

สิ่งธรรมดาที่ไม่ธรรมดา

อย่าได้เก็บเอาทุกอย่างมาใส่ไว้ในหัวใจ
จงกลั่นกรองเลือกเอาเฉพาะสิ่งดีๆ
อย่าเอาเรื่องไร้สาระมาทำให้หัวใจวุ่นวาย
เพราะมันมีแต่จะทำให้เราเป็นทุกข์
จงเก็บเอาแต่ดอกไม้สวย ๆ สายลมเย็น ๆ
ความฉ่ำชื่นความสดใสเข้ามาไว้ในความรู้สึก

โลกยังคงงดงาม จงมองดูโลกด้วยตาที่เปิดกว้าง
เธอเลือกได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสุขหรือทุกข์
เพราะว่าชีวิตนี้เป็นของเธอ

บางครั้ง เมื่อเรากลับมาบ้าน และต้องอยู่ตามลำพัง
นั่งฟังเสียงเข็มนาที เคลื่อนไปอย่างสม่ำเสมอ
ในความเงียบ และเราก็แอบคิดถึงเรื่องราวในวันเก่า-เก่า
บางภาพก็พร่ามัว
บางภาพก็ชัดเจน บางครั้งก็เรียกน้ำตา และ
บางคราก็ทำให้เราต้องยิ้มเล็ก ๆ ที่มุมปาก


ในวันที่เบื่อหน่าย
ลองนึกถึงเรื่องราวที่ผ่านมาดูบ้าง
บางที อาจจะทำให้เรารู้ว่า วันข้างหน้าที่เหลืออยู่
เราควรใช้ชีวิตที่เหลือนี้ อย่างไร
ทุกวันที่ผ่านไป ก็อาจจะเป็นเพียงแค่ วันธรรมดา วันนึง
เรื่องราวที่ผ่านมาในแต่ละวัน อาจจะธรรมดา
เกินกว่าที่จะรู้สึกประทับใจและต้องเก็บบันทึก
ไว้ในความทรงจำ แต่ในความรู้สึกของฉันเอง
กับคิดว่า การที่เราได้ก้าวผ่านไปในวัน ๆ นึง
ได้พบผู้คน ได้มองดูท้องฟ้าเนี่ย มันไม่ใช่เรื่อง
ธรรมดาเลย หรือคุณเคยเห็นท้องฟ้าผืนเดียวนี้
มีก้อนเมฆซ้ำกันหรือ? ... ก็เปล่า

ฉากชีวิตของคนเรา เปลี่ยน background ไป
ทุกวัน ถ้าหากว่าเราจะมองย้อนกลับไป คุณจะรู้ว่า
ไม่เคยมีวันไหนเลย ที่ชีวิตของเราถูกฉายซ้ำ ฉะนั้น
ทุกวันที่ผ่านเลย ย่อมมีคุณค่าอยู่ในตัวเองเสมอ
ถึงแม้ทุก ๆ วันของคุณนั้น เป็นเพียงวันธรรมดา วันนึง
ก็ตามทีเถอะ

ซึมซับความธรรมดาของเราไว้ให้ดี แล้วคุณจะรู้ว่า
ชีวิตที่แสนจะธรรมดาของเรานี้...แท้จริงแล้ว
มันไม่ธรรมดาเลย



ไม่อยากให้ทุกคนท้อแท้กับชีวิต
ไม่อยากให้ทุกคนหมดสิ้นความหวัง
ไม่อยากให้ทุกคนต้องหมดแรงพลัง
มีความหวังยั่งยืนอยู่บนผืนดิน


"จงอย่าปล่อยให้ความท้อแท้เพียงน้อยนิด
ต้องทำให้เราสูญเสียหนทางอันสดใส (ข้างหน้า)"



ที่มา
http://fwmail.teenee.com/

5 วิธีเพื่อเป็นผู้หญิงที่น่ารัก

1. ช่างมัน ฉันไม่แคร์


ใช่ว่าจะไม่แคร์ไปเสียทุกเรื่อง แต่ต้องการให้คุณเลิกแคร์กับเรื่องไม่เป็นรื่องต่างหาก สมมติว่าคนขับแท๊กซี่โกงเงินทอนคุณไป 3 บาท จนสามวันผ่านไปคุณก็ยังจำหน้าคนขับแท๊กซี่คนนั้นได้ อย่างนี้ผู้หญิงน่ารักไม่พึงปฎิบัติอย่างยิ่งค่ะ เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่พอจะมองข้ามได้ก็ปล่อยไปเถอะ อย่ามัววิตกให้อารมณ์มัวหมอง ทำลายความสดใสบนใบหน้าเสียเปล่าๆ เลย



2. นิ่งเสียตำลึงทอง



ถ้าคนรอบตัวคุณกำลังโวยวาย หงุดหงิด หรืออะไรก็ตามที่ไม่เกี่ยวกับคุณเลย ก็ไม่มีประโยชน์อันใดที่ผู้หญิงน่ารักๆ จะต้องแสดงน้ำใจไมตรีโดยการกระโดดเข้าไปร่วมวงวิพากษ์วิจารณ์หรือแสดงอารมณ์ร่วมไปกับเขา สู้เป็นฝ่ายอยู่นิ่งๆ รับฟังจะดีกว่า เพราะนอกจากไม่ต้องทำร้ายสุขภาพจิตของตัวเองแล้วการรับฟังอย่างเงียบอาจเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ดีและเป็นสิ่งที่คนรอบข้างของคุณต้องการมากที่สุดก็ได้


3. นินทากาเลเหมือนเทน้ำ


ยิ่งเทก็ยิ่งมัน น้ำยิ่งกระจัดกระจายเลอะไปหมด ดีไม่ดีจะเปรอะมาถึงตัวคนพูดด้วย การนินทาลับหลังเป็นสิ่งต้องห้ามอย่างยิ่งของผู้หญิงน่ารักนะคะ เพราะขณะที่คุณกำลังนินทา คนร่วมวงรวมทั้งตัวคุณเองก็อาจจะไม่แน่ใจว่าสักวันหนึ่งจะตกเป็นเหยื่อของการนินทาบ้างหรือเปล่า แต่ผู้หญิงเรารวมกลุ่มกันทีไรเรื่องนี้มักจะห้ามยาก


ถ้าคุณคิดจะเลิกก็เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการเตือนสติตัวเองว่า นี่ฉันกำลังจะนินทาแล้วนะ และชวนเพื่อนเปลี่ยนเรื่องคุยดีกว่า ทำอย่างนี้บ่อยๆ เข้าคุณก็จะเลิกได้ แล้วกลุ่มของคุณก็จะเลิกตามไปในที่สุดด้วยค่ะ


4. หยุดคิด เสียบ้าง



ไม่ใช่หยุดแล้วคิดนะคะ แต่ให้หยุดความคิดบางอย่างเสียบ้าง โดยเฉพาะความคิดแบบเปิดศึก ไม่ว่าจะสงครามกับตัวเองหรือคนรอบข้างทันทีที่เริ่มคิดให้ติดเบรกด่วนเลยค่ะ สมมติคุณกำลังคิดว่า ไม่มีใครทำความสะอาดที่นี่เลยหรือไง ความคิดนี้ยังไม่อันตราย แต่ถ้าคุณเริ่มคิดต่อไปว่า ฉันเป็นคนเดียวที่ทำทุกอย่างที่นี่ใช่มั้ย ฉันเบื่อเต็มทีแล้ว จนถึง ฉันเกลียดที่นี่ ฉันเกลียดทุกคน นี่แหละค่ะความคิดที่จะทำลายทั้งอารมณ์ จิตใจ และความน่ารักของคุณ


5. เบื่อคนบ่น


นับว่าเป็นโชคดีถ้าคุณรู้ตัวว่าเป็นผู้หญิงที่ไม่ชอบการบ่น แต่บางคนก็มักจะพูดว่า ทำไมคนโน้นคนนี้ขี้บ่น เมื่อไหร่จะหยุดเสียที น่าเบื่อจริงเชียว รู้ตัวไหมล่ะว่า ถ้าคุณยังไม่เลิกบ่นต่อเรื่องที่คนอื่นบ่น คุณก็จะกลายเป็นคนขี้บ่นที่น่าเบื่อเหมือนกับพวกเขานั่นแหละ


ไม่ใช่เรื่องเกินกำลังไปใช่ไหมคะ สำหรับการหยุดทบทวนและเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างเล็กๆน้อยๆ สักห้าข้อที่ว่า...เพียงเท่านี้คุณก็จะกลายเป็นผู้หญิงที่น่ารักมีเสน่ห์กว่าเดิมอีกหลายเท่าเชียวค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550

30 วันสำคัญของชาติที่เยาวชนไทยควรรู้

ในแต่ละปี ประเทศไทยเราจะมีวันสำคัญของชาติหลายวันด้วยกัน ทั้งที่เป็นวันสำคัญเกี่ยวกับชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และวันสำคัญทางประเพณี ซึ่งในจำนวนวันเหล่านี้ รัฐบาลได้ประกาศให้เป็นหยุดราชการ 16 วันด้วยกัน เช่น วันขึ้นปีใหม่, วันมาฆบูชา, วันจักรี, วันสงกรานต์ และวันฉัตรมงคล เป็นต้น วันสำคัญ หมายถึง วันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญๆ ในอดีต และเพื่อเป็นการระลึกถึงความสำคัญของวันนั้นๆ รัฐ /ชุมชน หรือหน่วยงาน จึงได้จัดให้มีพิธีการหรือกิจกรรมต่างๆ ขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ประชาชน หรือคนในสังคมได้ตระหนัก และระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในวันนั้น ด้วยความภาคภูมิใจ หรือเพื่อเป็นแบบอย่าง ในการประพฤติปฏิบัติที่ดีงามสืบทอดต่อกันมา ซึ่งวันสำคัญนี้ จะมีหลายระดับ เช่น ระดับบุคคล ได้แก่ วันเกิด วันแต่งงาน ระดับหน่วยงาน ได้แก่ วันสถาปนาของหน่วยงานนั้นๆ ระดับชาติ ได้แก่ วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันวิสาขบูชา และวันภาษาไทยแห่งชาติ เป็นต้น และเพื่อให้เยาวชนของเราได้รู้จักวันสำคัญของไทย กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอสรุปวันสำคัญๆ ที่ควรรู้จักในรอบปีให้ทราบดังนี้
วันสำคัญเกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์ไทย
1. วันยุทธหัตถี ตรงกับวันที่ 18 มกราคม เป็นวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อพระมหาอุปราชา เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2135 ยุทหัตถี หมายถึง การต่อสู้ด้วยอาวุธบนหลังช้าง เป็นการรบอย่างกษัตริย์สมัยโบราณ ถือป็นยอดยุทธวิธีของนักรบ เพราะเป็นการต่อสู้อย่างตัวต่อตัว กษัตริย์พระองค์ใดกระทำยุทธหัตถีชนะจะได้รับการยกย่องว่า มีพระเกียรติยศสูงสุด และแม้แต่ผู้แพ้ก็ได้รับการยกย่องสรรเสริญว่าเป็นนักรบแท้เช่นกัน
2. วันศิลปินแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ เป็นวันประกาศยกย่อง และเชิดชูเกียรติศิลปินชั้นครูของไทย ที่ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติให้เป็น “ศิลปินแห่งชาติ” โดยยึดถือเอาวันคล้ายวันพระราชสมภพของรัชกาลที่ 2 “พระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์” ผู้ทรงรอบรู้และเชี่ยวชาญในศิลปะทุกแขนงอย่างกว้างขวางลึกซึ้ง เป็น “วันศิลปินแห่งชาติ” ปัจจุบันมีศิลปินแห่งชาติ (ถึงปี พ.ศ. 2548) จำนวน 172 คน
3. วันพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม เป็นระลึกถึงวันคล้ายวันพระราชสมภพของรัชกาลที่ 3 ที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในการทำนุบำรุงบ้านเมือง ทั้งในด้านการศาสนา การศึกษาและอื่นๆ อีกมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างยิ่ง ในสมัยของพระองค์ ได้ทรงเก็บเงินบางส่วนใส่ “ถุงแดง” เอาไว้ ซึ่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงนำมาใช้เป็นค่าปรับในกรณีพิพาท กับประเทศฝรั่งเศส เมื่อ ร.ศ.112 ช่วยให้ประเทศไทยรอดพ้นวิกฤตการณ์ทางการเมือง และสงครามระหว่างประเทศไปได้
4. วันจักรี ตรงกับวันที่ 6 เมษายน หมายถึง วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ พระปฐมบรมราชวงศ์จักรี เสด็จกรีฑาทัพถึงพระนคร และทรงรับอัญเชิญขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ดำรงราชอาณาจักรสยามประเทศเป็นวันแรก ตลอดพระชนมชีพของรัชกาลที่ 1 ต้องทรงออกศึกใหญ่ เพื่อกอบกู้อิสรภาพถึง 11 ครั้งโดยทรงเป็นแม่ทัพถึง 10 ครั้ง และทรงร่วมกับพระเจ้ากรุงธนบุรี 1 ครั้ง และเมื่อทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ยังต้องออกศึกเพื่อปกป้องอิสรภาพของชาติไทยอีกถึง 7 ครั้ง นับว่าพระองค์ทรงเป็นพระกษัตริย์ยอดนักรบที่ยิ่งใหญ่ และเก่งกล้าสามารถยิ่ง
5. วันฉัตรมงคล ตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคม คือวันรำลึกถึงวันที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน ได้ทรงกระทำพิธีบรมราชาภิเษกเสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรีอย่างสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 และทรงมีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” (ซึ่งในวันที่ 9 มิถุนายน 2489 เมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ สืบต่อจากพระบรมเชษฐาธิราชรัชกาลที่ 8 นั้น ยังไม่ได้ทรงกระทำพิธีบรมราชาภิเษก เนื่องจากต้องเสด็จกลับไปศึกษาต่อ)
6. วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง อันเป็นปรากฏการณ์ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงคำนวณทำนายไว้ก่อนล่วงหน้าถึง 2 ปีอย่างแม่นยำ และได้เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรที่ ตำบลหว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ในวันดังกล่าว เมื่อปี พ.ศ. 2411 7. วันเยาวชนแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 20 กันยายน ด้วยถือว่าวันนี้เป็นวันที่เป็นสิริมงคลยิ่ง เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ ของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีถึงสองพระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ซึ่งทั้งสองพระองค์ นอกจากจะทรงครองราชย์สมบัติตั้งแต่ทรงพระเยาว์แล้ว ยังทรงพระปรีชาสามารถยิ่ง สมควรที่เยาวชนไทยจะเจริญรอยตามเบื้องยุคลบาท
8. วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม เป็นวันคล้ายวันสวรรคต ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่ง ของปวงชนชาวไทย พระราชกรณียกิจของพระองค์ไม่ว่าจะเป็นการเลิกทาส การพัฒนาระบบการบริหารราชการแผ่นดิน การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสาธารณูปการ การเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ ฯลฯ ล้วนเป็นพื้นฐานแห่งความเจริญสืบต่อมาจนปัจจุบัน
9. วันวชิราวุธ ตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายน เป็นวันคล้ายวันสวรรคต ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเปี่ยมไปด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงได้รับพระราชสมัญญาว่า “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” เพราะทรงเป็นปราชญ์ทางอักษรศาสตร์ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียว ที่ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมประเภทต่างๆ เป็นจำนวนมาก เท่าที่รวบรวมได้ในปัจจุบันมีถึง 1,236 เรื่อง นอกจากนั้น ยังทรงบัญญัติศัพท์ และทรงตั้งนามสกุลพระราชทาน ซึ่งได้รวบรวมไว้ขณะนี้ เป็นจำนวนประมาณ 6,432 นามสกุล
10. วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตรงกับ วันที่ 5 ธันวาคม วันนี้ถือเป็น “วันพ่อแห่งชาติ” และ “วันชาติไทย” ด้วย ตลอดระยะเวลายาวนานร่วม 60 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงอุทิศพระวรกาย พระราชหฤทัย และพระสติปัญญาของพระองค์ บำเพ็ญพระราชกรณียกิจ อันยังประโยชน์สุขให้แก่ราษฎรของพระองค์มาโดยตลอด ดังจะเห็นได้จากพระราชกรณียกิจที่มีอยู่มากมาย นับไม่ถ้วนนับพันโครงการ ซึ่งในปีนี้ถือเป็นปีพิเศษ ด้วยว่าจะเป็นวันที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา และได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อมาว่า “พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550”
11.วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรสยามฉบับถาวร เป็นฉบับแรกให้แก่ปวงชนชาวไทย เมื่อปี พ.ศ. 2475 ภายหลังจากมีการเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ และมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ซึ่งนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาจนปี พ.ศ. 2549 ไทยเรามีรัฐธรรมนูญมาแล้ว 16 ฉบับ (และอยู่ระหว่างการเตรียมร่างฉบับใหม่ หลังการปฏิรูปการปกครองฯ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549)
12. วันพระเจ้าตากสินมหาราช ตรงกับวันที่ 28 ธันวาคม เป็นวันคล้ายวันปราบดาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเป็นวีรกษัตริย์ไทยอีกพระองค์หนึ่งที่ได้รับการเทิดทูน และเคารพบูชาจากประชาชนชาวไทยมาโดยตลอด ไม่เพียงเพราะพระปรีชาสามารถในการรบที่กอบกู้ชาติไทยให้เป็นเอกราช และสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่บ้านเมืองของเราเท่านั้น แต่พระองค์ยังเป็นผู้นำที่เปี่ยมไปด้วยความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว มีความกตัญญูและเสียสละต่อผืนแผ่นดินไทยอย่างยากที่จะหาผู้ใดเสมือนเหมือนอีกด้วย
วันสำคัญหลักๆทางศาสนา ในปี 2550 นี้ จะประกอบด้วย13. วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 หรือวันที่ 3 มีนาคม 2550 เป็นวันที่พระอรหันต์ที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้จำนวน 1,250 รูปมาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย พระพุทธองค์จึงได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น ปัจจุบันเราถือว่าวันนี้เป็น “วันแห่งความรักทางพุทธศาสนา” ทั้งนี้ เนื่องจากวันดังกล่าวได้เกิดเหตุการณ์พิเศษที่เรียกว่า “จาตุรงคสันนิบาต” ขึ้น และเป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประกาศหลักการ และอุดมการณ์แห่งพุทธศาสนา อันมีเนื้อหาหลัก ว่าด้วยการส่งเสริมให้มวลมนุษย์ตั้งมั่นในการทำความดี ละความชั่ว ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน นั่นก็คือ ทรงสอนให้ทุกคนมีความรักอันยิ่งใหญ่ เป็นรักที่ไม่เห็นแก่ตัว เพราะสอนให้รู้จักรัก และเมตตาต่อเพื่อนร่วมโลก โดยมีพระสงฆ์เป็นผู้นำพระธรรมคำสั่งสอนดังกล่าวไปเผยแพร่
14. วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 (ปีนี้เป็นปีอธิกมาสจึงเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 7) ซึ่งตรงกับวันที่ 31 พฤษภาคม เป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพานขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งสิ่งที่สำคัญยิ่ง ในการบังเกิดพระพุทธเจ้าในโลกก็คือ “ธรรมะ” ที่พระองค์ทรงตรัสรู้ อันเป็นหลักในการดำเนินชีวิต ทรงเปรียบเสมือนบรมครูผู้มาสอน มาชี้แนะแก่มวลมนุษย์ มิฉะนั้นคนเราก็คงไม่รู้จักหนทางแห่งการปฏิบัติธรรม เพื่อล่วงพ้นความทุกข์เป็นแน่แท้ และวันวิสาขบูชา นี้องค์การสหประชาชาติได้มีมติรับรองให้ เป็นวันสำคัญสากล เมื่อปี พ.ศ.2542
15. วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 หรือวันที่ 29 กรกฎาคม 2550 เป็นวันที่มีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ครบเป็นองค์รัตนตรัยครั้งแรกในโลก ซึ่งพระสงฆ์องค์แรกคือพระอัญญาโกณฑัญญะ และปฐมเทศนาที่ทรงแสดงคือ ธรรมจักกัปวัตนสูตรหมายถึง พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป นั่นคือ ธรรมะของพระพุทธองค์เหมือนวงล้อธรรมที่ได้เริ่มเคลื่อนแล้วจากจุดเริ่มต้นในวันนี้
16. วันเข้าพรรษา ตรงกับวันที่ 30 กรกฎาคม 2550 เป็นวันเริ่มต้นที่พระภิกษุสงฆ์ จะต้องอธิษฐานจำพรรษาอยู่กับที่ ไม่เที่ยวจาริกไปยังที่ต่างๆ เป็นเวลา 3 เดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ของทุกปี (30ก.ค.-26 ต.ค.) ซึ่งการให้จำพรรษาในสมัยพุทธกาล ก็เพื่อป้องกันมิให้พระสงฆ์ไปเหยียบย่ำข้าว และพืชผลของชาวบ้านเสียหาย ต่อมาถือเป็นโอกาสดีที่พระภิกษุ จะได้มาอยู่ร่วมกันเพื่อศึกษาธรรมะ ส่วนชาวบ้านก็ได้เข้าวัดถวายทาน รักษาศีล ฟังธรรม และเจริญภาวนา เพื่อเพิ่มพูนบุญกุศลโดยมีพระภิกษุเป็นแบบอย่าง ครั้นต่อมาจึงเกิดประเพณีนิยมบวช 3 เดือน ขณะเดียวกันก็มีพุทธศาสนิกชนจำนวนหนึ่งนิยม ถือเอาวันเข้าพรรษาเป็นวันเริ่มต้นที่จะอธิฐานจิตลด ละ ความชั่วทั้งหลาย และทำความดีเพิ่มขึ้น สำหรับประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับวันนี้คือ การถวายผ้าอาบน้ำฝนและการแห่/ถวายเทียนพรรษา
17. วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 หรือวันที่ 26 ตุลาคม 2550 เป็นวันที่พระภิกษุพ้นข้อกำหนดทางวินัยที่จะอยู่จำพรรษา นับตั้งแต่วันเข้าพรรษาเป็นต้นมา และสามารถจาริกไปค้างแรมที่อื่นได้ ซึ่งจะมีประเพณีที่เกี่ยวข้อง คือ การตักบาตรเทโวโรหนะ คือวันถัดจากวันออกพรรษา 1 วัน (27 ต.ค.50) ซึ่งพุทธศาสนิกชน มักจะตักบาตรในวันนี้ ด้วยนิยมว่าเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้า เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากเสด็จไปโปรดพุทธมารดาอยู่ 3 เดือน และถัดจากออกพรรษา 1 เดือนถือเป็นเทศกาลกฐิน ที่จะทำบุญถวายผ้ากฐินตามวัดต่างๆ
วันสำคัญอื่นๆ ของชาติและวันสำคัญทางประเพณี 18. วันขึ้นปีใหม่ ก่อนที่ไทยเราจะมีวันปีใหม่แบบสากลเช่นปัจจุบัน เราได้มีการเปลี่ยนแปลงปีใหม่มาแล้วถึง 3 ระยะ คือ เริ่มแรกถือวันแรม 1 ค่ำเดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ ระยะที่สอง เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 คือราวช่วงสงกรานต์ โดยใช้ปีนักษัตร และการเปลี่ยนจุลศักราชเป็นเกณฑ์ ระยะที่สาม ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 เมษายนอันเป็นนับวันทางสุริยคติ ซึ่งได้ประกาศใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2432 ระยะที่สี่ คือในปี พ.ศ. 2483 รัฐบาลได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ไทย ให้เป็นไปตามแบบสากลนิยม คือวันที่ 1 มกราคม โดยมีเหตุผลว่าวันดังกล่าวกำหนดขึ้น โดยการคำนวณด้วยวิทยาการทางดาราศาสตร์ และเป็นที่นิยมใช้กันมากว่าสองพันปี อีกทั้งไม่เกี่ยวข้องกับลัทธิศาสนา หรือการเมืองของชาติใด แต่สอดคล้องกับจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณที่ใช้ฤดูหนาวเป็นต้นปี
19. วันเด็กแห่งชาติ ปีนี้ตรงกับวันที่ 13 มกราคม จัดขึ้นเพื่อกระตุ้นให้เด็ก ได้ตระะหนักถึงความสำคัญของตน และขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้ประชาชน และสังคมเห็นความสำคัญของเด็กที่จะเติบโตเป็นอนาคตของชาติ และเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญที่ควรได้รับการดูแล เอาใจใส่
20. วันครู ตรงกับวันที่ 16 มกราคม จัดขึ้นเพื่อให้สังคมได้ระลึกถึงความสำคัญของ “ครู” ในฐานะผู้เสียสละและประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชน โดยเฉพาะช่วยสร้างบุคลากรที่เป็นอนาคตของชาติ
21. วันอนุรักษ์มรดกไทย ตรงกับวันที่ 2 เมษายน อันเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้ทรงเป็นแบบอย่างในการบำเพ็ญพระราชกรณียกิจและพระราชจริยวัตรในด้านอนุรักษ์มรดกของชาติในสาขาต่างๆ ทรงได้รับการถวายพระสมัญญาเป็น “เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย” และ “วิศิษฏศิลปิน” อันหมายถึง ผู้เป็นเลิศในทางศิลปะ ทรงเป็นเมธีทางวัฒนธรรม และทรงมีคุณูปการต่องานศิลปะวัฒนธรรม
22. วันสงกรานต์ เป็นปีใหม่แบบเดิมของไทย ที่นับวันที่พระอาทิตย์ย่างเข้าสู่ราศีเมษ เป็นวันเริ่มต้นปี โดยเรียกวันที่ 13 เมษายน เป็น “วันมหาสงกรานต์” และถือเป็น “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” ด้วย ส่วนวันที่ 14 เมษายน เรียก “วันเนา” และถือเป็น “วันครอบครัว” ส่วนวันที่ 15 เมษายนเรียกว่า “วันเถลิงศก”หรือวันขึ้นจุลศักราชใหม่ ปีนี้นางสงกรานต์ชื่อ มโหธรเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย หัตถ์ขวาทรงจักร หัตถ์ซ้ายทรงตรีศูรย์ เสด็จนั่งมาเหนือหลังนกยูง
23. วันพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ตรงกับวันที่ 10 พฤษภาคม นอกจากจะเป็นพระราชพิธีโบราณเก่าแก่ ที่จะทำเพื่อเป็นการเสริมสร้างความเป็นสิริมงคลแก่การเกษตรกรรมแล้ว วันดังกล่าวยังถือเป็น “วันเกษตรกร” อีกด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้มีอาชีพทางการเกษตร ได้ระลึกถึงความสำคัญของการเกษตร โดยเฉพาะประชาชนทั่วไปจะได้ระลึกถึงความสำคัญของข้าว และธัญญพืชที่มีคุณเอนกอนันต์ ในการหล่อเลี้ยงชีวิตให้เติบโตสมบูรณ์ทั้งกายใจ และเหนือสิ่งอื่นใด เพื่อพึงระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระราชกรณียกิจ อันเป็นแบบอย่างทางด้านเกษตรกรรมแก่ราษฎร ชักนำให้มีใจมั่นในการประกอบอาชีพ และเป็นเหตุของความตั้งมั่นความเจริญไพบูลย์ของประเทศมาโดยตลอด
24. วันสุนทรภู่ ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน เป็นวันคล้ายวันเกิดของพระสุนทรโวหาร (สุนทรภู่) ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นกวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น และมีผลงานประพันธ์มากมาย เฉพาะเรื่อง พระอภัยมณี วรรณกรรมชิ้นเอกของท่าน ก็มีความยาวถึง 12,706 บท ถือได้ว่าเป็นกวีนิพนธ์ที่ยาวที่สุดในโลก ในขณะที่บทประพันธ์เรื่องอีเลียต (Iliad)) และโอเดดซี (Odyssey)ของฝรั่งที่ว่ายาวที่สุด ยังมีเพียง 12,500 บทเท่านั้น เมื่อปี พ.ศ. 2529 ท่านได้รับยกย่องจากยูเนสโก ให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก
25. วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคม เป็นวันคล้ายวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ได้ทรงพระกรุณาเสด็จฯ ไปทรงร่วมอภิปรายกับผู้ทรงคุณวุฒิทางภาษาไทย ของชุมนุมภาษาไทยคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับปัญหาการใช้คำไทย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2505 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถ ความสนพระราชหฤทัย และความห่วงใยในภาษาไทย ของพระองค์ท่านเป็นอย่างมาก
26. วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และ “วันแม่แห่งชาติ” ตรงกับวันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถผู้ทรงเปรียบประดุจ “แม่แห่งแผ่นดิน” ที่ทรงดูแลทุกข์สุขของราษฎรดังลูกๆของพระองค์ และทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่เพื่อปวงชนชาวไทยเคียงคู่กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาโดยตลอด โดยเฉพาะด้านศิลปาชีพ และการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของไทย
27. วันพิพิธภัณฑ์ไทย ตรงกับวันที่ 19 กันยายน เป็นวันน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของรัชกาลที่ 5 ผู้ทรงให้กำเนิด “พิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชน” ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2417 ณ ศาลาสหทัยสมาคม หรือ “หอคองคอเดีย” ในพระบรมมหาราชวัง
28. วันมหิดล ตรงกับวันที่ 24 กันยายน เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ผู้ทรงมีคุณูปการต่อการแพทย์สมัยใหม่ จนได้รับการเฉลิมพระเกียรติว่าทรงเป็น “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน”
29. วันลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 หรือวันที่ 24 พฤศจิกายน 2550 เป็นประเพณีที่สืบทอดมาแต่โบราณ โดยมีวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย เช่น ลอยเคราะห์ บูชาพระพุทธเจ้า แต่ปัจจุบันนิยมทำ เพื่อขอขมาและระลึกถึงคุณแม่พระคงคา ที่ได้อำนวยประโยชน์ต่างๆ แก่มนุษย์
30. วันกีฬาแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 16 ธันวาคม เป็นวันระลึกถึงวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงชนะเลิศได้รับเหรียญทองในการแข่งขันเรือใบประเภทโอ.เค.ในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 เมื่อปี พ.ศ. 2510 และเพื่อให้ประชาชน เยาวชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของกีฬา ที่มีส่วนช่วยส่งเสริมให้เรามีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ
ทั้งหมดคือวันสำคัญของไทยในรอบปีหนึ่งๆ ที่แม้จะมิใช่วันหยุดราชการทั้งหมด แต่ก็เป็นวันสำคัญของชาติที่เยาวชนไทยควรได้ทราบเพื่อเป็นความรู้ต่อไป
ขอขอบคุณข้อมูลข่าว : อมรรัตน์ เทพกำปนาท กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2550

Chocolat


Le chocolat (du nahuatl xocolatl ou chocolatl, signifiant « eau amère ») est un aliment issu de la fève de cacao. C'est un ingrédient courant populaire dans de nombreuses confiseries, glaces, biscuits, tartes, gâteaux et desserts.
Le chocolat est obtenu par la fermentation, la torréfaction, et le séchage des fèves amères provenant du cacaoyer (Theobroma cacao) originaire d'Amérique du nord (Mexique).

Types
Chocolat noir
Le chocolat noir, aussi appelé chocolat fondant ou chocolat amer, est le chocolat proprement dit. C'est le mélange de cacao et de sucre. Pour pouvoir être appelé « Chocolat », il doit contenir au minimum 34% de cacao. En dessous, on parle de « Confiserie chocolatée ». Le besoin en sucre dépend de l'amertume de la variété de cacao utilisée. Il connaît un renouveau de consommation depuis le début des années 1990 même s'il reste moins consommé que le chocolat au lait.
Chocolat non sucré
Le chocolat non sucré est de la pâte de cacao pure sans addition de sucre.
Chocolat au lait
Le chocolat au lait est du chocolat qui est obtenu en ajoutant du lait en poudre ou du lait concentré. Il contient moins de 40% de cacao. La loi américaine exige une concentration minimum de 10% de cacao. Les règlementations européennes indiquent un minimum de 25% de cacao. Certaines enseignes de luxe comme Michel Cluizel proposent des chocolats au lait jusqu'à 45%. Il est aussi calorique que le chocolat noir (moins gras mais plus sucré). Pendant longtemps, il a été beaucoup plus apprécié et consommé.
Chocolat blanc
Le chocolat blanc est une préparation à base de beurre de cacao, additionné de sucre, de lait et d'arôme, sans aucune composante solide de cacao. Il est surtout utilisé en confiserie pour jouer sur le contraste des couleurs.
Chocolat de couverture
Le chocolat de couverture est un chocolat de très bonne qualité qui est utilisé par les chocolatiers et les pâtissiers comme matière première. Il peut être noir ou au lait mais il contient au moins 32% de beurre de cacao ce qui le rend très fluide pour réaliser un enrobage plus fin qu'un enrobage classique.
Bonbons de chocolat
On appelle bonbons de chocolat des bonbons d'une dizaine de grammes composés de chocolat. Citons les pralines, les bonbons enrobés dont l'intérieur peut être composé de ganache ou de praliné, les dragées...
Bouchées de chocolat
Législativement parlant, un bonbon de chocolat qui n'entre pas en une fois dans la bouche est appelé bouchée. Une bouchée pèse environ 40g.
En Europe, les deux grands pays les plus réputés pour le chocolat sont :
la Suisse pour, notamment, les chocolats au lait et les chocolats noirs
la Belgique pour, notamment, les chocolats noirs et les pralines.
la France dans une moindre mesure pour les chocolats noirs et épicés. Historiquement, l'artisanat existant dans le sud-ouest de la France a pour origine les marchands juifs chassés d'Espagne par l'inquisition.
Depuis 2003, la règlementation européenne s'est alignée sur les directives de l'Institut national des appellations d'origine (INAO) qui régit les appellations vinicoles. La classification suivante décrit les chocolats de qualité :
les chocolats d'origine doivent être produits à partir d'un cacao provenant d'un seul état ou pays.
les chocolats de crus sont issus de cacao d'une région géographique identifiée voire d'une plantation unique.
les chocolats grands crus caractérisent les chocolats dont le cacao a un caractère particulier identifiable de façon unique ce qui justifie un prix élevé.
L'organisme mondial du commerce du cacao (International Cocoa Organization ICCO) a aussi mis en place depuis 1994 une liste des pays producteurs de cacaos fins ou cacaos flaveurs remarquables par leur arôme et leur couleur.

วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2550

รู้หรือเปล่า..ไวท์แก้โรคสมองเสื่อมได้.

ใครที่ชอบดื่มไวน์ รู้หรือไม่ว่า ไวน์สามารถป้องกันโรคสมองเสื่อมได้

จากการวิจัย พบว่า การดื่มไวน์วันละครึ่งแก้ว สามารถช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อมอย่าง “อัลไซเมอร์” และ “พาร์คินสัน” ได้

คณะนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมิลานในอิตาลี พบว่า สาร “รีเซอร์เวทรอล” ในองุ่นและไวน์ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของเอนไซม์ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีหน้าที่กระตุ้นการสร้างเซลล์สมอง

ดร.อัลเบอร์โต เบอร์เทลลี หัวหน้าคณะวิจัย กล่าวว่า “รีเซอร์เวทรอล” ยังช่วยเซลล์สมองสร้างส่วนขยายของเซลล์ ซึ่งอาจจะทำให้มันสามารถเชื่อมต่อกับเซลล์ข้างเคียงได้อีกด้วย

กิจกรรมดังกล่าวของเซลล์สมองจะช่วยฟื้นฟูสมองของคนชรา ทำให้สามารถจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้

ถ้าจะดื่มไวน์ป้องกันโรคสมองเสื่อม ต้องดื่มวันละน้อย อย่าดื่มมากจนเกินไป เพราะอาจจะเปลี่ยนจากผลดีเป็นผลเสียได้.

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2550