วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

...ปายเที่ยว...ปายกัน...


จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดในฝันของแทบทุกคนที่ต้องการมาเที่ยว เสน่ย์ของแม่ฮ่องสอนคือการท่องเที่ยวในหน้าหนาว มีเมืองปายเป็นพระเอกของจังหวัด รองมาคือทุ่งดอกบัวตองดอยแม่อุคอ นอกจากนั้นยังมีกระเหรี่ยงคอยาว วัด และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีกด้วย

เราเริ่มทำความรู้จักอำเภอปายกันก่อน เมืองปายนั้นดังมานานแล้วเป็นเมืองที่ฝรั่งนิยมไปท่องเที่ยวแบบแบ๊กแพ็กกิ้ง เมืองปายเป็นเมืองกลางหุบเขาห้อมร้อมด้วยขุนเขาทุกด้าน อุณหภูมิของอำเภอปายโดยปกติจะต่ำกว่าแม่ฮ่องสอน 5 องศา ที่ปายจะคึกคักเฉพาะช่วงหน้าหนาวประมาณปลายเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ในหน้าฝนก็มีนักท่องเที่ยวบ้างแต่ไม่มากนัก ในหน้าร้อนไม่ต้องพูดถึงเงียบเหงามีแต่คนพื้นที่เท่านั้น


อำเภอปายเดิมทีเป็นตลาดทางผ่านของชาวบ้านชาวเขาที่เดินทางจากเชียงใหม่ผ่านไปทางปายเพื่อไปแม่ฮ่องสอน เพื่อไปยังพม่า ต่อมาเจริญขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นอำเภอปาในตัวเมืองปายในปัจจุบัน จุดเด่นของปายในวันนี้คือการเดินเล่นถนนคนเดินแถวๆหน้า บขส. มีชาวเขามาขายของจากภูเขา จะมีนักท่องเที่ยวดินเล่น ซื้อของ บ้างก็นั่งดื่มค๊อกเทลข้างทาง จริงๆแล้วนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติต่างก็เดินกันทั่วเมืองปาย ตกกลางคืนก็มีร้านดังๆ ที่คนนิยมกันคือร้าน ภูปาย เป็นร้านกินเหล้าฟังเพลงปิดไม่ดึกนัก อีกร้านนึงคือร้าน “B-BOB-BAR” ร้านนี้เป็นร้านปลายทางเมื่อทุกร้านปิดก็จะมารวมกันที่บาร์แห่งนี้ สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆของปายก็เป็นวัดน้ำฮู หมู่บ้านชาวเขา ล่องแก่งแม่น้ำปาย ที่นิยมกันมากก็คือการล่องแก่งแม่น้ำปาย โดยจะล่องจากปายตามแม่น้ำไปขึ้นที่เมืองแม่ฮ่องสอนใช้เวลา 2 วัน 1 คืน


ที่ท่องเที่ยวอื่นๆของจังหวัดแม่ฮ่องสอนก็คืนทุ่งบัวตองซึ่งหน้าหนาวนักท่องเที่ยวมักเที่ยวเป็นวงรอบเริ่มจากเชียงใหม่ ไปปาย ไปแม่ฮ่องสอน ไปชิมชาที่บ้านรักไทย ไปชมความงามของบ้านรวมไทย(ปางอุ๋ง) เที่ยวถ้ำปลา เข้าไปเมืองแม่ฮ่องสอน พักในเมืองแม่ฮ่องสอนเดินเล่นถนนคนเดินบริเวณรอบหนองจองคำ เช้ามาก็ขึ้นไปไหว้พระธาตุดอยกองมู ลงมาไปชมกระเหรี่ยงคอยาวบ้านในสอย และวกกลับทางแม่สะเรียง ไปแวะเที่ยวทุ่งบัวตองและก็กลับกรุงเทพฯ


แม่ฮ่องสอน
เป็นจังหวัดชายแดนจังหวัดหนึ่ง ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับสหภาพพม่า ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกสุดของภาคเหนือ โดยอยู่ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 924 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 12,681.259 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันแบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ คือ อำเภอเมือง แม่สะเรียง ขุนยวม ปาย แม่ลาน้อย สบเมย และปางมะผ้า

แม่ฮ่องสอนได้ชื่อว่า เมืองสามหมอก เนื่องจากเป็นเมืองในหุบเขา ล้อมรอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อนทอดขนานไปกับทิวเขาถนนธงชัย และทิวเขาแดนลาว ดังนั้น จึงถูกปกคลุมด้วยหมอกตลอดทั้งปี มีทิวทัศน์สวยงามตามธรรมชาติของเทือกเขาสลับซับซ้อนและป่าไม้นานาพันธุ์จนมีคำกล่าวว่าเปรียบเสมือนกับเป็นสวิตเซอร์แลนด์ของเมืองไทย




....โรคหัวใจ...


อาการผิดปกติที่อาจบ่งชี้ว่าเป็นโรคหัวใจ : ซึ่งพบบ่อยจะประกอบไปด้วยอาการเหนื่อยเวลาออกกำลังกาย อาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก หรือมีอาการอึดอัดหายใจไม่สะดวกโดยเฉพาะเวลาออกกำลังกาย แต่อาจจะเกิดเวลาที่นั่งพักอยู่ปกติก็ได้ อาการหายใจลำบาก อาการนอนราบแล้วอึดอัดถ้านั่งแล้วจะสบายขึ้น อาการลุกขึ้นมากลางดึกหายใจแรงๆ แล้วจึงนอนต่อไปได้ อาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ อาการเป็นลมหมดสติ

อาการเจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก อาการนี้จะพบบ่อยในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน เนื่องจากมีไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ อาการเจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอกหายใจอึดอัด เนื่องจากหลอดเลือดหัวใจตีบ จะมีลักษณะเฉพาะคือ จะมีอาการเจ็บหรือแน่นบริเวณกลางหน้าอกเหมือนมีอะไรหนักๆ มาทับไว้ไม่ให้หน้าอกขยายตัว อาการนี้มักจะเป็นเวลาออกกำลังกาย อาการเจ็บหรือแน่นหน้าอกเนื่องจากหลอดเลือดหัวใจตีบมีความรุนแรงต่างๆ กัน บางรายอาการเจ็บมีการร้าวขึ้นไปที่คอ ขึ้นไปที่กรามทั้ง 2 ข้าง ที่ไหล่ทั้ง 2 ข้าง หรืออาจจะเป็นเฉพาะข้างซ้ายข้างเดียวก็ได้ และอาจจะร้าวลงไปที่แขนจนถึงปลายแขนได้ อาการเหล่านี้บางครั้งทำให้แพทย์วินิจฉัยผิดหรือผู้ป่วยอาจเข้าใจว่าเป็นโรคฟันผุจึงไปหาหมอฟัน บางครั้งอาจพบว่าฟันผุจริงบริเวณซี่ใดซี่หนึ่งแล้วทำการถอน แต่อาการเหล่านี้ก็ไม่หายไป ทั้งนี้เพราะอาการเกิดจากโรคหัวใจมิใช่เกิดจากฟันผุแต่พบร่วมกันโดยบังเอิญ

อาการเจ็บหน้าอกเนื่องจากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ จะมีอาการเจ็บที่มีลักษณะเหมือนถูกมีดแทงหรือเป็นอาการเจ็บแปลบๆ อาการของเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจะดีขึ้นในท่านั่งและเมื่อเอนตัวไปข้างหน้า แต่อาการเจ็บหน้าอกจะมากขึ้นถ้านอนหรือเมื่อหายใจเข้าแรงๆ ส่วนอาการเจ็บหน้าอกเนื่องจากการปริของผนังหลอดเลือดแดงใหญ่เอออต้า มักจะมีอาการเจ็บที่รุนแรงมากกว่า ลักษณะเหมือนมีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อภายในและอาจจะเจ็บทะลุไปจนถึงด้านหลังก็ได้

อาการของภาวะหัวใจล้มเหลว เกิดจากการที่หัวใจทำงานไม่เพียงพอต่อความต้องการของออกซิเจนและอาหารพยาธิสภาพอื่นๆ เช่น ลิ้นหัวใจรั่ว ลิ้นหัวใจตีบหรือโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันระยะสุดท้าย หรืออาจเกิดจากภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ หรืออาจเกิดจากการให้น้ำทางหลอดเลือดดำอย่างรวดเร็วในผู้ป่วยสูงอายุ หรือพบในผู้ป่วยที่มีไตวายเนื่องจากมีภาวะน้ำเกินในร่างกาย และร่างกายไม่สามารถขับน้ำออกมาได้ อาการจะมีความรุนแรงไม่เท่ากัน โดยเริ่มจากอาการเหนื่อยซึ่งอาจจะเป็นอาการเหนื่อยขณะออกกำลังกายนิดหน่อย หรือเหนื่อยในขณะนั่งพักเฉยๆ ก็ได้แล้วแต่ความรุนแรง ถ้าเป็นมากก็อาจมีอาการนอนราบไม่ลง นอกจากนั้น อาจมีการตื่นขึ้นมาหอบตอนกลางคืน ซึ่งส่วนมากจะพบว่าเมื่อนอนหลับไปแล้ว 3 – 4 ชั่วโมง ต้องตื่นขึ้นมาเนื่องจากมีอาการแน่นอึดอัดในหน้าอก ต้องลุกขึ้นมานั่งแล้วหายใจแรงๆ หลายๆ ครั้ง จากนั้นจึงนอนหลับต่อไปได้ อาการนี้อาจเป็นอาการที่เกิดจากน้ำท่วมปอดซึ่งเกิดจากสาเหตุที่ภาวะหัวใจล้มเหลวนั่นเอง

อาการใจสั่น หัวใจเต้นรัว หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ : ปกติหัวใจคนเราจะเต้นในจังหวะ 60 – 100 ครั้งต่อนาที

อาการเป็นลมหมดสติ : อาการเป็นลมหมดสติชั่วคราวแล้วฟื้นขึ้นมาได้เอง เป็นอาการหนึ่งที่อาจจะเป็นอาการของโรคหัวใจได้ โดยเฉพาะในกรณีที่จังหวะการเต้นของหัวใจช้าเกินไป หรือมีจังหวะหยุดนานเกินกว่า 3 วินาที อาจจะทำให้คุณมีอาการเป็นลมหมดสติชั่วคราวแล้วฟื้นกลับขึ้นมาใหม่ได้เอง เมื่อหัวใจเริ่มเต้นกลับมาปกติเหมือนเดิม อาการเป็นลมหมดสติดังกล่าวนี้เกิดจากหัวใจหยุดเต้นชั่วคราวหรือเต้นช้าไม่เพียงพอที่จะส่งเลือดไปเลี้ยงสมองนั่นเอง

อาการหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน หากไม่ได้รับการช่วยชีวิตอย่างทันท่วงทีอาจถึงแก่ความตายได้

....โลกร้อนๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ......

ปรากฏการณ์โลกร้อน อังกฤษ: Global warmingหมายถึงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกและน้ำในมหาสมุทรตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 และมีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา นับถึง พ.ศ. 2548อากาศใกล้ผิวดินทั่วโลกโดยเฉลี่ยมีค่าสูงขึ้น 0.74 ± 0.18 องศkเซลเซียส ซึ่งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ของสหประชาชาติได้สรุปไว้ว่า “จากการสังเกตการณ์การเพิ่มอุณหภูมิดยเฉลี่ยของโลกที่เกิดขึ้นตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ประมาณตั้งแต่ พ.ศ. 2490) ค่อนข้างแน่ชัดว่าเกิดจากการเพิ่มความเข้มของแก๊สเรือนกระจกที่เกิดขึ้นโดยกิจกรรมของมนุษย์ที่เป็นผลในรูปของปรากฏการณ์เรือนกระจก” ปรากฏการณ์ธรรมชาติบางอย่าง เช่น ความผันแปรของการแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์และการระเบิดของภูเขาไฟอาจส่งผลเพียงเล็กน้อยต่อการเพิ่มอุณหภูมิในช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรมจนถึง พ.ศ. 2490และมีผลเพียงเล็กน้อยต่อการลดอุณหภูมิหลังจากปี 2490 เป็นต้นมาข้อสรุปพื้นฐานดังกล่าวนี้ได้รับการรับรองโดยสมาคมและสถาบันการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 30 แห่ง รวมทั้งราชสมาคมทางวิทยาศาสตร์ระดับชาติที่สำคัญของประเทศอุตสาหกรรมต่างๆ แม้นักวิทยาศาสตร์บางคนจะมีความเห็นโต้แย้งกับข้อสรุปของ IPCC อยู่บ้าง แต่เสียงส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศของโลกโดยตรงเห็นด้วยกับข้อสรุปนี้

แบบจำลอ'การคาดคะเนภูมิอากาศที่สรุปโดย IPCC บ่งชี้ว่าอุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยที่ผิวโลกจะเพิ่มขึ้น 1.1 ถึง 6.4 องศาเซลเซียส ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 21 (พ.ศ. 2544–2643) ค่าตัวเลขดังกล่าวได้มาจากการจำลองสถานการณ์แบบต่างๆ ของการแผ่ขยายแก๊สเรือนกระจกในอนาคต รวมถึงการจำลองค่าความไวภูมิอากาศอีกหลากหลายรูปแบบ แม้การศึกษาเกือบทั้งหมดจะมุ่งไปที่ช่วงเวลาถึงเพียงปี พ.ศ. 2643 แต่ความร้อนจะยังคงเพิ่มขึ้นและระดับน้ำทะเลก็จะสูงขึ้นต่อเนื่องไปอีกหลายสหัสวรรษ แม้ว่าระดับของแก๊สเรือนกระจกจะเข้าสู่ภาวะเสถียรแล้วก็ตาม การที่อุณหภูมิและระดับน้ำทะเลเข้าสู่สภาวะดุลยภาพได้ช้าเป็นเหตุมาจากความจุความร้อนของน้ำในมหาสมุทรซึ่งมีค่าสูงมาก

การที่อุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้นทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และคาดว่าทำให้เกิดภาวะลมฟ้าอากาศextreme weatherที่รุนแรงมากขึ้น ปริมาณและรูปแบบการเกิดหยาดน้ำฟ้าจะเปลี่ยนแปลงไป ผลกระทบอื่นๆ ของปรากฏการณ์โลกร้อนได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของผลิตผลทางเกษตร การเคลื่อนถอยของธารน้ำแข็ง การสูญพันธุ์พืช-สัตว์ต่างๆ รวมทั้งการกลายพันธุ์และแพร่ขยายโรคต่างๆ เพิ่มมากขึ้น

แต่ยังคงมีความไม่แน่นอนทางวิทยาศาสตร์อยู่บ้าง ได้แก่ปริมาณของความร้อนที่คาดว่าจะเพิ่มในอนาคต ผลของความร้อนที่เพิ่มขึ้นและผลกระทบอื่นๆ ที่จะเกิดกับแต่ละภูมิภาคบนโลกว่าจะแตกต่างกันอย่างไร รัฐบาลของประเทศต่างๆ แทบทุกประเทศได้ลงนามและให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโต ซึ่งมุ่งประเด็นไปที่การลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก แต่ยังคงมีการโต้เถียงกันทางการเมืองและการโต้วาทีสาธารณะไปทั่วทั้งโลกเกี่ยวกับมาตรการว่าควรเป็นอย่างไร จึงจะลดหรือย้อนกลับความร้อนที่เพิ่มขึ้นของโลกในอนาคต หรือจะปรับตัวกันอย่างไรต่อผลกระทบของปรากฏการณ์โลกร้อนที่คาดว่าจะต้องเกิดขึ้น